Breakdown Maintenance คือ ทุกเรื่องที่คุณควรรู้เกี่ยวกับ การบำรุงรักษาหลังเกิดเหตุขัดข้อง

by admin
538 views
breakdown maintenance

ในการทำงานของเครื่องจักรและโรงงานอุตสาหกรรม เหตุไม่คาดฝันเกิดขึ้นได้เสมอแม้ว่าเราจะป้องกันเตรียมการไว้ดีแค่ไหน ดังนั้นการซ่อมบำรุงหลังจากเกิดเหตุขัดข้อง หรือ Breakdown Maintenance : BM จึงเป็นหนึ่งในตัวเลือกที่จำเป็นต่อการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าและแก้ไขสถานการณ์ให้เครื่องจักรสามารถดำเนินการต่อไปได้อย่างทันถ้วงที ในบทความนี้ Good Material จะมาแนะนำทุกเรื่องที่คุณควรรู้เกี่ยวกับกลยุทธ์การซ่อมบำรุงรูปแบบนี้ครับ

Breakdown Maintenance คือ

Breakdown Maintenance คือ การบำรุงรักษาหลังจากเกิดความเสียหาย หรือจะนิมยามอีกแบบว่าเป็นการซ่อมบำรุงแบบตอบสนองต่อเหตุการณ์ Reactive Maintenance ก็ได้เช่นกัน การซ่อมบำรุงรูปแบบนี้อาจจะใช้งานชิ้นส่วนของอุปกรณ์จนกระทั่งเสียหายแล้วค่อยเปลี่ยน หรือ ในบางเหตุการณ์เป็นการไปซ่อมแซมจากเหตุไม่คาดคิด หรือไม่ได้วางแผนไว้ การบำรุงรักษาแบบนี้ถือการเป็นการบำรุงรักษาที่ง่ายที่สุด เพียงแก้ปัญหาเฉพาะหน้าไปตามสถานการณ์เท่านั้น ซึ่งอาจจะเป็นการซ่อมบำรุงโดยการวางแผน หรือ ไม่ได้วางแผน ก็ได้ ซึ่งจะตรงกันข้ามกับการบำรุงรักษาเชิงป้องกัน

บทความที่เกี่ยวข้อง : Preventive Maintenance คืออะไร ทุกเรื่องที่คุณควรรู้เกี่ยวกับ ซ่อมบำรุงเชิงป้องกัน

ประเภทของการการบำรุงรักษาหลังเกิดความเสียหาย

Hydraulic-Oil-101

1.Planned Maintenance : การบำรุงรักษาตามแผน

Planned Maintenance คือ การบำรุงรักษาตามแผนจัดทำเอกสารและกำหนดเวลาไว้ล่วงหน้าแล้ว โดยจุดมุ่งหมายของการบำรุงรักษาตามแผนคือการ ลดเวลาหยุดทำงาน (Machine Downtime) โดยต้องมีการควบคุมอย่างเข้มงวด พนักงานควรมีความชัดเจนว่า ชิ้นส่วนใดจะพังและควรเปลี่ยนตามรอบ เช่นการเปลี่ยนหลอกไฟ เปลี่ยนแผ่นกรองบางชนิด และชิ้นส่วนใดจะได้รับการบำรุงรักษาตามปกติผ่านการบำรุงรักษาเชิงป้องกัน

Run to Failure (RTF)  คือ ส่วนหนึ่งในวิธีการรักษาแบบ Planned Maintenance โดย Run to Fail เป็นกลยุทธ์ที่มีเจตนาที่จะให้อุปกรณ์หรือชิ้นส่วนทำงานจะกว่าจะล้มเหลวและเจ้าของหรือฝ่ายซ่อมบำรุงพร้อมจะแก้ไขทันทีหรือเปลี่ยนทันที ตามที่ได้วางแผนและเตรียมชิ้นส่วนสำรองไว้แล้ว

2.Unplanned Maintenance : การบำรุงรักษาที่ไม่ได้วางแผนไว้

Unplanned Maintenance คือ การบำรุงรักษาเชิงแก้ไขโดยไม่ได้วางแผนไว้ว่าจะเกิดเหตุไม่คาดฝัน หรือเกิดเหตุที่ทำให้ชิ้นส่วนของอุปกรณ์ต่างๆล้มเหลวหรือใช้ไม่ได้ โดยไม่คาดคิด หรืออาจจะเรียกได้ว่า เหตุการณ์หยุดการผลิตโดยไม่ได้วางแผนไว้ โดยการรับมือจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วนด้วนกันคือ

2.1 Reactive Maintenance คือ การบำรุงรักษาแบบตอบสนองต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น หรือ เรียกว่าการบำรุงรักษาเฉพาะหน้าก็ได้ มันคือการเข้าไปซ่อมบำรุงรักษาอุปกรณ์หลังจากที่พังโดยไม่คาดคิด การซ่อมบำรุงประเภทนี้จะทำเพื่อตอบสนองต่อความล้มเหลวเฉพาะหน้าและยังไม่มีการวางแผนไว้

2.2 Corrective Maintenance การบำรุงรักษาเชิงแก้ไข คือ การทำให้เครื่องจักรหรืออุปกรณ์ทำงานได้อีกครั้งหลังจากต้องหยุดงานอย่างถูกต้องเป็นการบำรุงรักษาเชิงแก้ไข เช่น การแก้ไขข้อบกพร่องเล็กน้อยที่ทำให้เครื่องจักรทำงานช้า จนไปถึงซ่อมเครื่องจักรที่ขัดข้องทั้งหมดให้กลับมาใช้งานได้อีกครั้ง

 

เมื่อไหร่ควรใช้การซ่อมบำรุงหลังเหตุขัดข้อง

Break down Maintenance จะใช้งานทุกครั้งที่เครื่องจักรพังหรือเสียหายโดยไม่มีการเตรียมการ จะเป็นการซ่อมบำรุงเฉพาะหน้าทั้งสิ้น การซ่อมบำรุงหลังเกิดความเสียหายจะเหมาะกับ

  • เมื่ออุปกรณ์ไม่ได้ถูกออกแบบมาให้ซ่อมแซมได้ หรืออยู่ในบริเวณที่ไม่สามารถซ่อมได้
  • เมื่ออุปกรณ์ไม่มีความสำคัญ ในการผลิตและสามารถซ่อมแซมหรือเปลี่ยนได้อย่างรวดเร็วปลอดภัย รวมถึงราคาไม่แพง
  • เมื่ออุปกรณ์ หรืออะไหล่ ได้รับการออกแบบมาให้เปลี่ยนเมื่อสิ้นสุดอายุการใช้งาน เช่น หลอดไฟ ไส้กรองบางชนิด
  • เมื่ออุปกรณ์มีอายุการใช้งานที่สั้น

อย่างที่กล่าวไปว่ากลยุทธ์การบำรุงรักษาหลังเกิดเหตุขัดข้อง  จะสามารถใช้ได้กับอุปกรณ์ที่อายุสั้น หรือ ไม่มีความสำคัญ เช่น หลอดไฟ แต่ในบางสถานการณ์หรือบางอุตสาหกรรมเราไม่สามารถปล่อยให้ชิ้นส่วนใดๆ พังก่อนได้แม้กระทั้งชิ้นส่วนที่ดูจะไม่สำคัญอย่างหลอดไฟ เมื่อต้องอยู่บนเครื่องบิน ที่ต้องดูแลความปลอดภัยของผู้โดยสารจำนวนมาก หรือ ในอุตสหกรรมยานยนต์ที่ต้องรับผิดชอบต่อความปลอดภัยบนท้องถนน การซ่อมบำรุงเชิงป้องกัน (Preventive Maintenance) หรือ การซ่อมบำรุงเชิงคาดการ (Predictive Maintenance) จะเป็นตัวเลือกที่เหมาะสมกว่า

 

ข้อดี – ข้อเสีย 

ข้อดีของการซ่อมบำรุงแบบ Breakdown Maintenance

  • จำเป็นต้องมีการวางแผนน้อยที่สุด เนื่องจากการซ่อมบำรุงประเภทนี้เป็นการตอบสนองต่อเหตุการณ์เฉพาะหน้า ถ้าทุกอย่างยังทำงานได้ดี คุณก็ไม่จำเป็นต้องจัดการ หรือ เสียค่าใช้จ่ายใดๆ
  • ต้นทุนระยะสั้นลดลง ในการบำรุงรักษาเชิงป้องกันคุณอาจจะต้องเตรียมทรัพยากร แผนรับมือ ซึ่งคือต้นทุนทั้งสิ้นจะเป็นการใช้ต้นทุนในระยะกลางและระยะยาว แต่การซ่อมบำรุงหลังเกิดเหตุไปแล้วในอุปกรณ์บางชนิดจะช่วยลดต้นทุนส่วนนี้ และนำทรัพยากรไปบริหารจัดการส่วนที่มีมูลค่าหรือสำคัญต่อกระบวนการผลิตที่มากกว่าได้ดียิ่งขึ้น
  • เป็นกระบวนการที่ง่ายต่อความเข้าใจ เพราะเป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าตามเหตุที่เกิด

 

ข้อเสียมีอะไรบ้าง?

  • ยากที่จะระบุปัญหาเพื่อป้องกัน การแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเพียงอย่างเดียว บางกรณีจะเป็นการสะสมปัญหาระยะยาวที่อาจจะทำให้เสียหายมากกว่าเดิม จนคุณอาจจะหาสาเหตุที่แท้จริงไม่เจอ
  • Machine Downtime เครื่องจักรต้องหยุดงานชั่วคราว การซ่อมบำรุงหลังเกิดเหตุ หรือ การแก้ปัญหาเฉพาะหน้าอาจจะกระทบต่อจำนวนของชิ้นส่วนอะไหล่ที่อาจจะไม่พร้อมหรือไม่ได้เตรียมไว้ จนทำให้เครื่องจักรต้องหยุดเป็นระยะเวลานานเพื่อรอชิ้นส่วน
  • ค่าใช้จ่ายระยะยาวที่สูงขึ้น ตามที่สำนวนไทยพูด “เสียน้อยเสียยาก เสียมากเสียง่าย” การที่คุณไม่เตรียมพร้อมหรือเตรียมตัวในการแก้ปัญหาเชิงป้องกัน หรือ แก้ปัญหาเชิงคาดการณ์ ไว้เสียแต่เนิ่นๆ การแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเป็นการสะสมปัญหาระยะยาวไว้รอแก้ไขที่หลังในบางกรณี และเมื่อปัญหาที่ใหญ่กว่าเกิดขึ้นจะส่งผลเสียร้ายแรงต่อระบบการผลิต อาจจะส่งผลถึงชื่อเสียง ความพอใจของลูกค้า ความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สิน และ ความสามารถในการดำเนินธุรกิจที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

กฎ 80/20 บอกไว้ว่าถ้าคุณให้ความสำคัญกับ 20% ในการป้องกัน จะช่วยลดเหตุการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นจากเหตุไม่คาดฝันอีก 80% ได้

จะสามารถลดการซ่อมบำรุงแบบตอบสนองนี้ได้อย่างไร

การบำรุงรักษาแบบตอบสนองต่อเหตุการณ์หรือการแก้ปัญหาหลังเกิดเหตุขัดข้อง เป็นทางเลือกที่เหมาะสมอย่างยิ่งในบางสถานการณ์ อย่างไรก็ตามถ้าคุณวางแผนป้องกันไว้ล่วงหน้าตามกฎ 80/20  จะช่วยคุณลดการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้านี้ได้อย่างมาก คุณสามารถเริ่มดำเนินการโดยการ

1.ปรับปรุงทีม และ ให้ความรู้กับพนักงาน

พนักงานทุกคนในองค์กรควรสามารถเป็นส่วนหนึ่งของการรายงานสิ่งผิดปกติ หรือความล้มเหลวได้ ต่อให้จะเป็นพนักงานทั่วไปที่ไม่ได้อยู่ฝ่ายซ่อมบำรุงก็ตาม เช่น การที่พนักงานได้ยินเสียงผิดปกติระหว่างการทำงานของเครื่องจักร และแจ้งให้กับฝ่ายซ่อมบำรุงได้ทันเหตุการณ์จะช่วยเป็นหูเป็นตาให้กับระบบการผลิตโดยรวมได้

ทีมซ่อมบำรุงควรได้รับการฝึกอบรม ให้สามารถทำงานไดอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ต่อทุกความผิดพลาดของอุปกรณ์ทุกประเภท และมีการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพตลอดเวลา

 

2.ดูแลอุปกรณ์สำรองไว้ให้พร้อม

ห้องสำหรับเก็บอะไหล่สำรองควรพร้อมเสมอสำหรับเหตุไม่คาดฝัน อุปกรณ์ต้องพร้อมสำหรับการซ่อมบำรุงทุกประเภท ทั้ง น็อต เกลียว สกู หรือ หลอดไฟ

 

3.เก็บข้อมูลสำหรับอนาคต

คุณควรตรวจสอบและเก็บข้อมูลทุกครั้งหลังการดำเนินการบำรุงรักษาหลังเกิดเหตุ สิ่งนี้จะช่วยระบุสามารถของความล้มเหลวและจะสามารถดำเนินการวางแผนเพื่อลดปริมาณการซ่อมบำรุงประเภทนี้ หรือ ช่วยกำหนดความถี่ในการใช้ Planned Maintenance ได้อย่างเหมาะสม และลดความล้มเหลวที่คล้ายคลึกกันในสถานที่อื่นใกล้เคียง

 

4.ใช้เครื่องมือในการช่วยตรวจสอบและจัดระเบียบ

ช่างเทคนิก ช่างซ่อมบำรุง และ ผู้จัดการ ควรที่จะทราบข้อมูลเกี่ยวกับความล้มเหลวของอุปกรณ์และสถานะปัจจุบันของการซ่อมบำรุงได้ตลอดเวลาและทุกที่ การใช้เครื่องมืออย่าง  CMMS จะช่วยให้คุณทราบสถานะว่าอะไรซ่อมไปแล้ว และ อะไรอยู่ระหว่างการรอซ่อมในอนาคต

 

ตัวช่วยของการบำรุงรักษาเชิงแก้ไข : CMMS

Computerized Maintenance Management System (CMMS) หรือ ระบบบริหารจัดการงานบำรุงรักษาด้วยคอมพิวเตอร์ คือ ระบบหรือซอฟต์แวร์ที่มีหน้าที่ในการสนับสนุนกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับงานซ่อมและบำรุงรักษาของบริษัทโดยใช้คอมพิวเตอร์ในการบริหารจัดการ

คุณสมบัติของ CMMS เบื้องต้นที่ช่วยในการซ่อมบำรุงของบริษัท

  1. ระบบในการบริหารงานซ่อม
  2. ระบบในการบริหารงานบำรุงรักษา
  3. ระบบในการจัดการทรัพย์สิน
  4. ระบบในการจัดการอะไหล่
  5. ระบบรายงานวิเคราะห์ข้อมูลการซ่อม

สรุป

การบำรุงรักษามีมากมายหลายประเภท วิธีการแก้ปัญหาจะต้องพิจารณาข้อดี ข้อเสีย ให้เหสมาะสมกับสถานการณ์ของชิ้นส่วนนั้นๆ และเหมาะสมกับบริษัทของคุณ คำแนะนำที่ดีที่สุดคือ ใช้การบำรุงรักษาหลังเกิดเหตุ Breakdown Maintenance เป็นกลยุทธ์ที่คุณได้วางแผนไว้แล้วว่าชิ้นส่วนไหนจะต้องซ่อมบำรุงหลังเกิดเหตุไปแล้ว ชิ้นส่วนไหนจะต้อง ซ่อมบำรุงแบบป้องกัน Preventive Maintenance เพื่อให้เครื่องจักรสามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

 

  • หากท่านต้องการนำเนื้อหาหรือข้อมูลจากเว็ปเราไปใช้งานเพื่อเผยแพร่ให้ความรู้โดยไม่มีผลประโยชน์ โปรดติดลิ้งค์เครดิตกลับมาหาเราที่หน้านี้
  • ข้อมูลอ้างอิง 1 , 2  , 3 , 4 , 5

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

Copyright © 2024 สงวนสิทธิ์ทุกประการ Good Material.asia